ประวัติและความเป็นมาของประเพณีลอยกระทง

ส่วนในเรื่องของการประทับรอยพระพุทธบาท บางแห่งบางสถานที่ก็ว่ากันว่าพญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ(ที่อยู่ของพญานาค) เมื่อพระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์ที่จะนำไว้จารึกบูชาจากพระองค์

พระพุทธเจ้าจึงอธิษฐาน ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกพญานาคทั้งหลายจึงต่างพากันมากราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ต่อมาพวกประชาชนทั่วไปที่เป็นชาวพุทธก็ได้ทราบเรื่องนี้เข้า จึงได้ไปกราบไหว้นมัสการทำการบูชารอยพระพุทธบาทและสืบต่อกันมา

โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่ลงไปในกระทงและนำไปลอยในน้ำ และปรเพณีลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันออกพรรษา เพื่อถือว่าเป็นการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้านั้นได้เสด็จกลับลงมาสู่บนโลกมนุษย์อีกครั้ง หลังจากการจำพรรษาสามเดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมทรงโปรดพุทธมารดา

พวกเหล่าเทพเทวดาต่างๆก็ได้พากันออกมารับเสด็จเป็นจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน และมาพร้อมกับเครื่องสักการบูชา

ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์และนรกด้วยอิทฤทธิ์ของพระองค์เองประชาชนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองและรับเสด็จพระพุทธเจ้าส่วนการลอยกระทงตามประทีป(การจุดไฟในตะเกียงหรือโคมด้วยดินเผาเล็กๆ) เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็เพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกบวชบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา

พระพุทธเจ้าทรงได้ใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด และลอยไปในอากาศตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุพระเกศของโมลีแล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เพื่อให้ได้ไปอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นนั้นเป็นการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายที่อยู่สวรรค์ชั้นนั้น เหมือนเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์และเพื่อให้มีการสืบต่อเหมือนประเพณีดังในปัจจุบัน ที่ทำเพื่อขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำคงคา

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่

คลังเก็บ